ขึ้ นชื่อว่าความทุกข์ ไม่ว่ารูปแบบใดและอย่างไร ก็ไม่มีใครปรารถนากันทั้งสิ้น มนุษย์ทุกคนล้วนโหยหาความสุขให้ตนเองอย่างไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะความสุขจากการได้รับการตอบสนองจากสิ่งกระตุ้นเร้าภายนอกซึ่งเรียกว่า “อามิสสุข” ทั้งความอยากได้ใคร่มีและไม่อยากได้ไม่ใคร่มี เช่น มีความสุขเพราะเงินบัญชีในธนาคารเพิ่มขึ้น สุขเพราะได้กินได้เที่ยวตามใจต้องการ สุขเพราะแฟนซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมาฝาก สุขเพราะเจ้านายที่ตนเองไม่ชอบย้ายไปทำงานที่อื่น สุขเพราะพ้นจากการต้องคดี สุขเพราะพ้นจากการทำงานที่ตนเองไม่ชอบ เป็นต้น
ชีวิตคือการเรียนรู้
จงอยู่กับปัจจุบัน
แท้จริงความสุขเหล่านั้นในทางธรรม ล้วนเกิดจากความต้องการหรือกิเลสของมนุษย์สองประการนั่นคือ 1)ภวตัณหา คือความอยากได้ อยากมี อยากเป็น 2) วิภวตัณหา คือความอยากไม่ได้ อยากไม่มี อยากไม่เป็น กิเลสทั้งสองประการดังกล่าว ล้วนเป็นสิ่งเร้าภายนอกที่กระตุ้นเร้าให้เราพึงใจ เมื่อพึงใจก็ใส่ความหมายว่าเป็นสุข เมื่อไม่พึงใจก็ใส่ความหมายว่าเป็นทุกข์ จึงสุขสุขทุกข์ทุกข์สลับสับเปลี่ยนคละเคล้ากันไปอยู่เช่นนั้นเอง ซึ่งในพุทธจิตวิทยาถึอว่าเป็นความสุขชั่วคราวหรือเป็นความทุกข์ตามธรรมชาติทั้งสิ้น
เ มื่อสิ่งเหล่านี้เป็นความสุขโดยสมมุติและเป็นความทุกข์โดยธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่เราจะหลีกหนีไปไหนไม่ได้ แต่!หากมีวิธีคิดหรือวิธีรับมือต่อปัญหาและความทุกข์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เรามีความสงบสุขทางใจ เกิดพลังภายในจากความเข้าใจชีวิตโดยธรรมชาติ และการจะนำชีวิตไปสู่ประสิทธิผลดังกล่าวได้นั้นก็ต่อเมื่อ เรามีวิธีคิดที่ดีห้าประการนั่นคือคิดว่า 1)ชีวิตคือการเรียนรู้ 2)อยู่กับปัจจุบัน 3)รู้ทันธรรมชาติ 4)ฉลาดคิด และ 5)ทำจิตให้จิตสงบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หากทุกท่านสามารถคิดและลงมือทำ ตามหลักการทั้งห้าข้อดังกล่าวได้คือ คิดว่าชีวิตเกิดมาเพื่อเรียนรู้ อยู่กับปัจจุบัน รู้ทันธรรมชาติ ฉลาดคิด และทำจิตให้สงบ ได้อย่างสม่ำเสมอทุกๆวัน จะเป็นการใช้หลักการทั้งจิตวิทยาทั่วไปและจิตวิทยาแนวพุทธมาพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สามารถปรับตัวปรับใจ รับมือกับทุกสถานการณ์ของชีวิตได้อย่างสงบสุขและพ้นทุกข์ได้ในที่สุด