จากปาฏิหาริย์แห่งการสำนึกรู้คุณสู่พลานุภาพแห่งความกตัญญูรู้คุณ

book2

ากแรงบันดาลใจของผู้เขียนที่เกิดขึ้น ณ กุฏิของหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งหนึ่งที่ผู้เขียนได้เดินทางไปกราบอัฐิธาตุของหลวงปู่ เมื่อเดินถึงกุฏิก็พบว่าเป็นกุฏิยกพื้นสูงมีบันไดสูงประมาณ 10 ขั้น บนกุฏิขณะที่ผู้เขียนก้มกราบอัฐิหลวงปู่แล้วเงยหน้าขึ้นมานั้น ก็รู้สึกตกใจกลัวเป็นอย่างมากเพราะมีสุนัขตัวโตมากสูงประมาณเอวของผู้เขียนมายืนจ้องหน้าท่าทางเอาเรื่องทีเดียว ทำให้รู้สึกกลัวสุนัขจะกัดมาก เพราะความเชื่อของคนล้านนาเชื่อว่าถ้าถูกสุนัขกัดจะซวยไป 10 ปี เมื่อกราบอัฐิของหลวงปู่เรียบร้อยแล้วผูเขียนก็เดินชมสิ่งของต่างๆ ภายในบริเวณกุฏิ และขณะที่เดินชมสุนัขตัวดังกล่าวก็เดินใกล้ๆ คุมเชิงผู้เขียนอยู่ตลอดเวลาจนทั่วบริเวณกุฏิ

ผู้ที่รู้จักสำนึกรู้คุณหรือกตัญญูรู้คุณต่อทั้งตนเองและผู้อื่นนั้นเป็นพลานุภาพ
ที่นำมาสู่ความรู้สึกและพฤติกรรมที่เป็นกุศลอีกมากมาย

หลังจากผู้เขียนเดินลงจากกุฏิจนถึงพื้นก็ก้มลงเพื่อสวมรองเท้า จากนั้นจึงลุกขึ้นยืนโดยหันหน้าเข้าทางบันได เมื่อเงยหน้าขึ้นไปมองตรงบันไดขั้นบนสุด ก็พบว่าสุนัขตัวเดิมยืนมองลงมาจ้องหน้าอย่างจริงจัง จึงจำใจต้องยืนมองและสบตากับสุนัขเป็นเวลานานกว่า 3 นาที และนั่นเป็นการสบตากับสุนัขครั้งแรกในชีวิตที่รู้สึกได้ว่ายาวนานที่สุด อารมณ์ความรู้สึกที่กลัวสุนัขจะกระโจนลงมากัดก็ยังมีอยู่ แต่ขณะที่ยืนเงยหน้าขึ้นไปสบตากับสุนัขนั้น ผูเขียนก็ปรับความคิดของตัวเองโดยใคร่ครวญสำนึกในใจต่อสุนัขว่าความจริงเขาก็ทำความดีนี่นา

book

นั่นคือ 1) เขาได้ขวนขวายรับใช้ดูแลกุฏิหลวงปู่เป็นอย่างดี อนึ่งการขวนขวายรับใช้ถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเรียกว่า เวยยาวัจมัย และ 2) ความจริงที่ผ่านมาสุนัขเดินอย่างสุภาพ นิ่งๆ ไม่วิ่งไม่ส่งเสียงเห่า เขาได้ต้อนรับผู้เขียนด้วยความสุภาพนอบน้อมและการสุภาพนอบน้อมถือเป็นบุญยิ่ง เรียกว่า อปจายนมัย นั่นคือในความเป็นจริงสุนัขตัวดังกล่าวได้ทำบุญตั้ง 2 วิธี ตามหลักการของบุญกิริยาวัตถุ 10 หรือวิธีการทำบุญ 10 ประการในหลักพุทธศาสนานั่นคือ สุนัขได้ทำบุญ สุนัขจึงมีบุญอยู่ในตัว ผู้เขียนเห็นบุญของสุนัขจึงสำนึกในบุญที่สุนัขมี หรือเรียกว่า สำนึกในบุญคุณหรือในคุณค่าของสุนัข เมื่อสำนึกเห็นคุณค่าของสุนัขแล้ว จิตใจก็เริ่มปีติยินดีและรู้สึกชื่นชมในการทำหน้าที่ได้อย่างดีของสุนัข

เมื่อเดินจากกุฏิมาที่จอดรถก็พบว่าสุนัขตัวดังกล่าววิ่งมาหา และเดินวนไปมาใกล้กับผู้เขียน และเมื่อพนักงานขับรถเปิดประตูรถให้ผู้เขียนเข้าไปนั่งในรถและขณะที่ยังไม่ได้ปิดประตูรถ ทันใดนั้นสุนัขตัวดังกล่าวก็กระโจนเข้าหาและเอาเท้าหน้าทั้งสองมาวางที่ตักและตะกุยตะกายเล็กน้อย ในขณะที่เท้าหลังทั้งสองของสุนัขก็ยังแตะอยู่ที่พื้น ในวินาทีนั้นผู้เขียนรู้สึกได้ว่าสุนัขมาส่งด้วยความรู้สึกที่งดงามมากกว่าจะกระโจนเข้าทำร้าย

ขณะที่จิตใจรู้สึกปีติยินดีและรู้สึกชื่นชมขึ้นเรื่อยๆ รอยยิ้มก็เริ่มปรากฏบนใบหน้า แววตาก็เป็นมิตรมากขึ้น มีรอยยิ้มเล็กๆ ที่ริมฝีปาก ขณะเดียวกันก็สำนึกในใจขอบคุณสุนัข ว่าแท้จริงเขามาต้อนรับและมายืนส่งเราด้วยความสุภาพ ขณะเดียวกันก็รู้สึกสำนึกผิดและขอโทษสุนัขที่ รู้สึกหวาดกลัว ขณะนั้นผู้เขียนรู้สึกได้ว่าได้สำนึกรู้คุณค่าของสุนัขตัวนั้นอย่างเต็มหัวใจและเชื่อว่าเขาคงรู้สึกถึงการสำนึกดีดังกล่าวจากผู้เขียนเช่นกัน นอกจากนั้นเขาคงรู้สึกถึงการได้รับเกียรติจากสีหน้าแววตาและรอยยิ้มจากผู้เขียน รวมทั้งการที่เขายืนอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า โดยมีผู้เขียนยืนอยู่ด้านล่าง เงยหน้าขึ้นไปสบตาเขาอย่างชื่นชม โอกาสที่สุนัขสักตัวจะได้รับการให้เกียรติและมีผู้สำนึกรู้คุณค่าจากคนซึ่งไม่เคยรู้จักคุ้นเคยกันเช่นนี้อาจมีไม่บ่อยนัก ผู้เขียนยืนยิ้มให้สุนัขแล้วก็ยกมือขึ้นเพื่อสื่อสารบอกลาก่อนเดินจากกุฏิ ไปขึ้นรถ

จึงใช้มือลูบที่ใต้คางและหัวของสุนัขเพื่อสื่อสารแสดงความขอบคุณที่มาส่ง พร้อมทั้งสำนึกผิดและขอโทษในใจที่มองเขาในทางลบและหวาดกลัวว่าเขาจะทำร้ายเมื่อตอนแรกพบ พร้อมทั้งเกิดความไว้วางใจว่าเขาจะไม่ทำร้าย และเชื่อว่าสุนัขตัวนั้นคงให้อภัย และผู้เขียนก็ให้อภัยตัวเองที่มองเขาในทางลบในช่วงแรก เมื่อรถเคลื่อนออกไปผู้เขียนหันหลังไปดูผ่านกระจกรถยังพบว่าสุนัขตัวดังกล่าวยืนจ้องมาที่รถเพื่อยืนส่งจนรถเลี้ยวโค้งลับตาในที่สุด จนถึงวันนี้ผู้เขียนก็ยังคงระลึกถึงสุนัขตัวดังกล่าว นั่นคือความรู้สึกผูกพันนั่นเอง

เหตุการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า การสำนึกรู้คุณนำมาซึ่งความรู้สึกชื่นชมยินดี ส่งผลให้เกิดรอยยิ้ม ขอบคุณ สำนึกผิด ขอโทษ ให้อภัย ไว้วางใจ ผูกพัน พร้อมทั้งมองกันในด้านดี และนี่คือความเป็นคุณธรรมสากล ดังแสดงไว้ในวงจรเหตุปัจจัยแห่งการสำนึกรู้คุณ ดังนี้

aa

จากวงจรเหตุปัจจัย 10 ประการปาฏิหาริย์แห่งการสำนึกรู้คุณดังกล่าว เป็นพื้นฐานทางความคิดและอารมณ์ความรู้สึกที่ช่วยให้ผู้เขียนนำมาใคร่ครวญและขยายความคิดสู่พลานุภาพแห่งการกตัญญูรู้คุณ กล่าวคือผู้ที่รู้จักสำนึกรู้คุณหรือกตัญญูรู้คุณต่อทั้งตนเองและผู้อื่นนั้นเป็นพลานุภาพที่นำมาสู่ความรู้สึกและพฤติกรรมที่เป็นกุศลอีกมากมาย เช่น ทำให้เป็นผู้ที่มีปัญญา เป็นกัลยาณมิตร ปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นทุกข์ด้วยความเคารพและทำให้เป็นสัตบุรุษ ทำให้เป็นผู้ที่รู้จักนอบน้อม ทำให้เกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ ตลอดจนเกิดปาฏิหาริย์ในลักษณะที่เป็นอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ อีกมากมาย ดังกรอบแนวคิดเพิ่มเติมจากเดิมดังนี้

การสำนึกรู้คุณค่า –> เป็นผู้นอบน้อม –> ทำให้เกิดปาฏิหาริย์ต่างๆ –> เป็นผู้มีปัญญา –> เกิดความเข้มแข็งทางใจ –> เป็นกัลยาณมิตร –> เป็นสัตบุรุษ –> ปฏิบัติต่อผู้อื่นที่เป็นทุกข์ด้วยความเคารพ

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

ประธานสถาบันพัฒนาศักยภาพมนุษย์และกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ Wuttipong Academy, กรรมการบริหารมูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง

Recommended Posts