การสำนึกรู้คุณเหตุแห่งการช่วยเหลือผู้เป็นทุกข์ด้วยความเคารพ

comforting-hand

มื่อราวกลางศตวรรษที่18 สังคมมองว่าผู้ป่วยจิตเวชเป็นความน่าเกียจน่ากลัวและยังไม่มีวิธีการรักษาอื่นใด นอกจากการกักขัง ทำร้ายด้วยการทุบตี ผูกมัดด้วยโซ่ตรวน เพื่อหวังจะให้โรคจิตที่ยุคนั้นคิดว่าน่ารังเกียจนี้หมดสิ้นไปจากสังคม แต่การทำร้ายด้วยการโบยหลังและชกต่อยผู้ป่วยโดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ป่วยหายนั้น กลับเพิ่มความรุนแรงและก้าวร้าว และร้าวรานใจแก่ผู้ป่วยยิ่งขึ้น

สั่งเสีย ฝากฝัง สั่งลา

#เพื่อนสนิทคนหนึ่งของนายแพทย์ฟิเนลป่วยเป็นโรคจิต เขามีอาการคลุ้มคลั่ง อาละวาดเยี่ยงอาการของโรคนี้ทั่วไป และในไม่ช้าเขาก็ถูกพันธนาการและเฆี่ยนตีอย่างสาหัสตามวิธีการในสมัยนั้น จนเลือดไหลซิบไปทั้งตัว ความตกใจ หวาดกลัวและคลุ้มคลั่งเป็นแรงผลักให้เพื่อนของฟิเนลคนนั้น ทำลายเครื่องจองจำทั้งหมดที่ผูกมัดอยู่และเตลิดหนีหายไปในความมืดของป่าละเมาะใกล้บ้าน ในที่สุดก็พบว่าเพื่อนของฟิเนลนอนเงยหน้าเหงเกแสดงถึงความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส และทุกข์ทรมานอย่างที่สุดก่อนสิ้นใจ พร้อมเนื้อหนังที่กระจุยกระจายจนถึงกระดูกทั่วตัว นั่นเป็นเพราะได้ตกเป็นอาหารอันโอชะของสุนัขป่าฝูงใหญ่ไปเสียแล้ว

#เหตุการณ์ครั้งนั้นสะเทือนใจหมอฟิเนลอย่างที่สุด เขาเริ่มครุ่นคิดและทบทวนถึงวิธีปฏิบัติต่อผู้ป่วยจิตเวชให้ดีกว่านั้น ความตายของเพื่อนรักเป็นเหตุให้หมอฟิเนลคิดว่า หากผู้ป่วยโรคจิตได้รับการดูแลรักษาเฉกเช่นคนธรรมดาทั้งปวงด้วยความรัก ความเมตตากรุณาต่อกันเป็นที่ตั้ง คนไข้โรคจิตเหล่านี้ก็คงไม่ต้องต่อสู้และดุร้ายเหมือนอย่างที่คิดและหวาดกลัวกัน

#และในเช้าวันหนึ่งนายแพทย์ฟิเนลจึงเดินทางมุ่งหน้าสู่คุกซัลปิแอร์ของฝรั่งเศสอย่างไม่หวั่นใดๆ ซึ่งคุกมหึมาแห่งนั้นไม่ใช่คุกที่กักขังนักโทษผู้กระทำผิด หากแต่เป็นคุกสำหรับคุมขังคนไข้โรคจิตที่เสียจริตทั้งหลายในยุคนั้นเอง ซึ่งยุคนั้นมิได้มีการรักษาใดๆ มีแต่การเฆี่ยนตีทารุณด้วยวิธีการต่างๆ ใครที่ทนไม่ไหวก็ตายไป ที่ยังมีชีวิตอยู่และคลุ้มคลั่งอยู่ก็พบแต่ความเหี้ยมโหดจากผู้คุมแสนดุร้ายที่ทำร้ายผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเขาเชื่อว่านั้นคือวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนไข้เหล่านี้

ผู้บัญชาการอนุญาตและแสดงสีหน้าท่าทีเสมือนไม่แน่ใจ พร้อมทั้งร้องสั่งพัศดีหน้าเหี้ยม เมื่อหมอฟิเนลจะพาตัวเองออกไปจากห้องว่า “#เอ็งไปป่าวร้องให้ใครๆมาดูคนบ้าฆ่าหมอกันเถอะวะ” ในขณะที่หมอฟิเนลกำลังก้าวเดินเข้าไปกลางลานดินในคุกผู้ป่วยจิตเวชแห่งนั้น และเขายืนนิ่งสงบอยู่ท่ามกลางผู้ป่วยโรคจิตที่กำลังคลุ้มคลั่งและกระชากโซ่ตรวนที่คุมขังพร้อมส่งเสียงคำรามลำคออย่างน่ากลัว

นายแพทย์ฟิเนลชายวัยกลางคนรูปร่างสูงใหญ่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ผมสีทองเหมือนฝักข้าวโพดอ่อนปลิวไสวอยู่บนศรีษะที่มีหน้าผากกว้าง และมีรอยย่นเล็กน้อย คางและเหนือริมฝีปากหนาไปด้วยเครา ตามความนิยมสมัยนั้นซึ่งแสดงถึงใบหน้าที่เข้มและจริงจัง แต่ความรักความเมตตากรุณาฉายแววอ่อนโยนชัดเจนอยู่ในดวงตาสีฟ้าอ่อนคู่นั้นของเขา หมอฟิเนลยังจำได้ดีถึงสีหน้าแววตาที่เย้ยหยันของผู้บัญชาการเรือนจำผู้ป่วยแห่งนั้นได้ดี เมื่อเขาพูดอย่างชัดเจนและฉะฉานว่า ขออนุญาตลดปล่อยคนไข้โรคจิตที่ถูกทรมานถูกคุมขังอยู่ในนั้น เพื่อจะได้ถอดโซ่ตรวนออกและนำมารักษาโดยไม่ต้องจองจำและกักขังอีกต่อไป

อีกด้านหนึ่งแออัดและคราคร่ำไปด้วยผู้คุมและชาวบ้านที่ต่างแห่แหนกันมาดูเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ ด้วยสีหน้าแววตาที่เย้ยหยันและพร้อมจะเห็นความหายนะของหมอฟิเนลในวันนั้น เมื่อทุกอย่างพร้อมนายแพทย์ฟิลิป ฟีเนล ก็สั่งการให้ผู้คุมและพยาบาลปลดปล่อยโซ่ตรวนออกจากผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด 53 คน ภาพปรากฏที่ทุกคนคาดว่าจะเห็นในขณะนั้นคือความโหดร้าย ชุลมุนวุ่นวาย และหมออาจถูกทำร้ายนั้น กลับเป็นภาพที่สร้างความสะเทือนใจจนทุกคนอดกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหวคือ #ภาพคนไข้โรคจิตเหล่านั้นวิ่งเข้าไปหมอบกราบแสดงความขอบคุณและชื่นชมต่อหมอฟิเนล

#ด้วยเป็นภาพแห่งความเมตตากรุณาและสำนึกรู้คุณค่าในความเป็นมนุษย์ด้วยกันทั้งหมอและคนไข้ #นั่นคือหมอฟิเนลปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นทุกข์ด้วยความเคารพ ดังบาลีที่ว่า ทุกขิตสฺส สกฺกจฺจํ กโรติ กิจฺจํ และวงการจิตเวชได้ยกย่องให้นายแพทย์ฟิลิป ฟิเนล เป็นบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์แผนปัจจุบัน สำหรับผู้เขียนแล้วคงจะไม่ผิดหากจะยกย่องว่าหมอฟิเนล คือสัตบุรุษอย่างแท้จริงแห่งวงการสุขภาพจิตโลก และใช่เพียงแต่ผู้ป่วยจิตเวชเท่านั้น #หากเราเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของทุกๆคนเราก็จะปฏิบัติต่อทุกๆคนด้วยความเคารพเช่นกัน

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

ประธานสถาบันพัฒนาศักยภาพมนุษย์และกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ Wuttipong Academy, กรรมการบริหารมูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง

Recommended Posts