ภารกิจจิตอาสาปฎิบัติการต้านเศร้าและการฆ่าตัวตาย

sad-image

ารช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ไม่ให้ฆ่าตัวตายเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญด้วยการไถ่ชีวิตถือเป็นคุณอันวิเศษที่ยุติเหตุแห่งการฆาตกรรม

เข้าใจ เอะใจ ฉับไว

“อาจารย์ครับผมมีเพื่อนที่ผมรู้ว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้าควรจะแนะนำเขาเบื้องต้นอย่างไรดีครับ”
“รู้ได้อย่างไรครับว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้า”ผู้เขียนถามต่อ
“เขาคิดจะตัวตายหลายครั้ง” เขาตอบ

chat
suicide_image

จากนั้นผู้เขียนและกัลยาณมิตรที่ถามเข้ามาทางอินบ็อกได้พิมพ์สนทนากันอีกนิดหน่อย ดังปรากฏในไลน์ จึงเปลี่ยนเป็นการสนทนาต่อทางโทรศัพท์ #เพราะการพิมพ์มิอาจนำมาสู่การช่วยเหลือแบบproactiveและฉับไวได้

ยังดีที่เพื่อนเขาพอรู้และ”#เอะใจ”จึงสื่อสารมาถามผู้เขียน ผู้เขียนจึงแนะนำให้พาเพื่อนไปโรงพยาบาลใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลจิตเวชทันทีในวันนี้ เขายังต่อรองผู้เขียนอีกว่าหลังสงกรานต์ได้ไหมครับ ผู้เขียนตอบว่า “#ไม่ได้และไม่ควรครับต้องช่วยเหลือแบบฉับพลันทันทีคล้ายๆเราเห็นเพื่อเราถูกงูเห่าฉกและต้องช่วยทันทีครับ” การที่เขาต่อรองเช่นนั้นก็ด้วยความที่น้องเขาอาจไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งนั่นเอง แต่เพียงเท่านี้ก็ถือว่าดีอย่างยอดเยี่ยมที่สุดแล้ว

เป็นที่น่าตกใจเมื่อพบว่าน้องที่ซึมเศร้าและคิดจะฆ่าตัวตายคนดังกล่าวมีอาการเช่นนี้อยู่เกือบสองปี โดยไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา ด้วยไม่รู้ว่าอาการที่เป็นอยู่คือหดหู่ไร้ชีวิตชีวารู้สึกไร้คุณค่าไร้ความหมายจนถึงขั้นทำร้ายตนเองเล็กๆน้อยๆตลอดมา และมีความคิดจะฆ่าตัวตายนั้นคือการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า

จากนั้นทั้งผู้เขียนและผู้ที่ติดต่อเข้ามาจึงนัดกัน เพื่อให้เขาพาเพื่อนมาตรวจจากจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสวนปรุง จิตแพทย์อธิบายและให้คำแนะนำดีมาก จนสุดท้ายชวนให้ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายสักระยะหนึ่ง แต่คนไข้ปฏิเสธและรับปากว่าจะมีเพื่อนและแม่คอยดูแลใกล้ชิดเพื่อรับประทานยาสองสัปดาห์แล้วจะกลับมาพบแพทย์ตามนัดอีกครั้ง

ตอนจะชำระค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน190บาท ปรากฏว่าคนไข้ไม่มีเงิน และพึ่งจะทำบัตรประชาชนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังมิได้นำบัตรประชาชนไปยื่นทำบัตรทองที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน ผู้เขียนจึงควักเงินส่วนตัวจ่ายให้ไปและบอกเขาว่าครั้งนี้ช่วยครับ แต่ครั้งต่อไปให้กลับไปติดต่อในระบบจ่ายตรงให้เรียบร้อยนะครับ #เป็นอันว่าวันนี้ทำงานจิตอาสาทั้งปัญญาเวลาและเงินตราไปพร้อมๆกันนั่นเอง

#การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและฆ่าตัวตายไม่สำเร็จนั้นส่วนมากเกิดจาก #ไม่เข้าใจ #ไม่เอะไจ #ไม่ฉับไว กล่าวคือ 1)#ไม่เข้าใจ ว่าอาการซึมเศร้าและความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นเป็นการป่วยชึ่งรักษาได้ กระทั่งมิใช่การอ่อนแอและเรียกร้องความสนใจ 2)#ไม่เอะใจ ในอาการซึมเศร้าและสัญญาณเตือนที่สื่อสารสั่งเสียฝากฝังและสั่งลา 3)#ไม่ฉับไว ในการเข้าสู่กระบวนการรักษาและปล่อยให้อาการเรื้อรังอยู่ยาวนานจนพยายามจะฆ่าตัวตาย

ดังนั้นหากทุกๆคนในสังคมมีความเข้าใจเอะใจและช่วยเหลือกันอย่างฉับไว ด้วยการหมั่นสังเกตอาการของอารมณ์เศร้าและสัญญาณเตือนภัยจะฆ่าตัวตายคือการสื่อสารที่สั่งเสียฝากฝังและสั่งลากันและกันอย่างสม่ำเสมอได้แล้ว ก็จะช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายได้เป็นอย่างดี

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์

นักส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาบุคลากรด้วยสหศาสตร์, ประธานสถาบันพัฒนาบุคลากรและบุคลิกภาพ Wuttipong Academy และกรรมการบริหารมูลนิธิสุขภาพจิตโรงพยาบาลสวนปรุง

Recommended Posts